ค้นหาบล็อกนี้

Presented of school

CAS :: Creativity, Action, Service


การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากล
โรงเรียนจะต้องใช้หลักการและแนวคิดหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทุกประการ คือ
ให้ผู้เรียนได้เรียนกลุ่มสาระพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระ เรียนสาระเพิ่มเติมและ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังเช่นที่ได้ถือปฏิบัติอยู่ โดยโรงเรียนควรพิจารณาถึง
ความเหมาะสม สภาพความพร้อม และจุดเน้นของโรงเรียนในการจัดให้มี
การเรียนการสอนสาระที่เป็นสากล 4 สาระ ได้แก่ ทฤษฎีความรู้ (Theory
of Knowledge : TOK) การเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended-Essay) กิจกรรม
สร้างสรรค์ประโยชน์ (CAS : Creativity, Action, Service) โลกศึกษา (Global
Education) และเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 2 อีกหนึ่งภาษา
สำหรับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรโดยนำสาระ
สากลมาจัดลงในหลักสูตรสถานศึกษาทั้งในเชิงบูรณาการเป็นหน่วยการเรียนรู้
ในสาระพื้นฐานทั้ง 8 สาระ หรือจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ทั้งนี้โรงเรียนควร
พิจารณาถึงความเหมาะสมของขอบข่ายสาระการเรียนรู้ของสาระสากลกับ
โครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษา โดยดำเนินการดังนี้
จัดเป็นหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ 1 หน่วย ในรายวิชาพื้นฐาน
ทั้ง 8 สาระ ได้แก่ ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge : TOK)
การเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended-Essay) โลกศึกษา (Global
Education) ทั้งนี้ลักษณะการจัดการเรียนการสอนที่เป็นหน่วยบูรณาการ
ในรายวิชาพื้นฐานต้องใช้มาตรฐานและตัวชี้วัด และเน้นการจัดการเรียนการสอน
ตามธรรมชาติการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้และการวัดและ
ประเมินผลที่เข้มข้นตามหลักการหรือทฤษฎีดังกล่าว สำหรับกิจกรรม
สร้างสรรค์ประโยชน์ (CAS : Creativity, Action, Service) สามารถนำไปจัด
ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในส่วนของชุมนุม ชมรม หรือกิจกรรมเพื่อสังคม
และสาธารณประโยชน์ได้เรียนรู้
จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมตามความพร้อม จุดเน้นและบริบทของ
สถานศึกษา โดยจัดทำคำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้และหน่วย
การเรียนรู้ ในลักษณะเช่นเดียวกับการจัดทำรายวิชาเพิ่มเติมใน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ทั้งนี้โรงเรียนควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของขอบข่ายสาระ
การเรียนรู้ของสาระสากลกับโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาดังนี้

ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) เป็นสาระการสอน
ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังทักษะการค้นคว้าแสวงหาความรู้เพิ่มเติม
ต่อยอดความรู้ให้ลึกซึ้งในประเด็นความรู้ (Knowledge issues)


ได้เรียนรู้จากการเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน 8 สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ไม่ใช่การสอนเนื้อหาเพิ่ม ครูผู้สอนจะไม่สอนสิ่งที่เป็นเนื้อหา แต่สอนระบวนการ
ค้นคว้าและสืบค้นความรู้ โดยผู้เรียนต้องค้นคว้าหาความรู้เพื่อนำมาแสดงให้เห็นว่า “เรา รู้ได้อย่างไร : How do we know?” และครูผู้สอนจะเป็นผู้ชี้แนะชี้นำวิธีการแสวงหาความรู้ (Ways of Knowing) การใช้ข้อมูลเป็นเหตุผล การใช้ข้อมูลจากการค้นคว้าโต้แย้งด้วยความคิดสนับสนุนเห็นด้วย
และความคิดขัดแย้งไม่เห็นด้วยกับความรู้ที่ค้นพบการเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended-Essay) เป็นสาระที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะการศึกษาค้นคว้าอย่าง
อิสระ (Independent Study/Research) ในเรื่องที่ตนสนใจ จากการเรียนเนื้อหาสาระในสาระการเรียนรู้พื้นฐาน และเขียนรายงาน
สิ่งที่ค้นพบจากการค้นคว้าเป็นความเรียงเชิงวิชาการตามแบบแผนการเขียน
เชิงวิชาการ มีองค์ประกอบต่างๆ ตามที่กำหนดครบถ้วน
โลกศึกษา (Global Education) เป็นสาระการเรียนรู้ที่มุ่งให้
ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ของโลก สามารถ
วิเคราะห์เหตุการณ์โลกและสามารถมองเห็นช่องทางและวิธีการ
ในการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด โดยกำหนดให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์เหตุการณ์โลก
ใน 8 มิติได้แก่
การเรียนโลกศึกษา (Global Education) ไม่ใช่การสอนเนื้อหาสาระแต่หวังผลให้ผู้เรียน “คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น” มีทักษะการคิดสร้างสรรค์(Creative Thinking) และทักษะการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ (Critical Thinking)  การจัดการเรียนการสอนเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนซึ่งครูควรจัดกิจกรรมให้มีความหลายหลาย เช่น การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ประเด็นเหตุการณ์หรือปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Issue/Problem-based Learning) การเรียนรู้โดยผ่านการสนทนา (Dialogue-based Learning) ฯลฯ กิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์ (CAS : Creativity, Action, Service)เป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพอย่างรอบด้าน เป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคมสามารถจัดการตนเองได้และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการสร้างสรรค์โครงงานและปฏิบัติจริง 3 กิจกรรมหลักๆ ที่ประกอบไปด้วย การสร้างสรรค์โครงงาน (Creativity) โดย ใช้ความรู้จากสาระการเรียนรู้พื้นฐาน การปฏิบัติกิจกรรมตามโครงงานที่สร้างขึ้น (Action) และเข้าร่วมกิจกรรมโครงงานสาธารณประโยชน์ (Service)  
               การจัดการเรียนการสอนสาระที่เป็นสากล 4 สาระ ได้แก่ ทฤษฎี ความรู้ (Theory of Knowledge : TOK) การเขียนความเรียงขั้นสูง(Extended-Essay) กิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์ (CAS : Creativity,Action, Service) และโลกศึกษา (Global Education) จะช่วยให้การสะท้อนภาพความสำเร็จที่ชัดเจนทั้งความรู้ความสามารถตามสมรรถนะทั้ง 5 ของ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และศักยภาพความเป็นพลโลกของผู้เรียนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ดังนั้นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนจึงควรพิจารณาดำเนินการ

สื่อข้อมูลอ้างอิง :: http://www.worldclassschoolthai.net/